ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ผู้สูงอายุ

elderly, older person

ผู้ที่มีอายุสูงเกินวัยแรงงาน (working age) 

ประเทศไทยใช้เกณฑ์อายุ 60 ปีขึ้นไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ว่า ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี

สหประชาชาติ (United Nations) และประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์ 65 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูงอายุ

เมื่อคนๆ หนึ่งเกิดมาและมีอายุสูงขึ้น จะผ่านสถานะต่างๆ ตามช่วงวัยของตน คือเริ่มจากเป็นทารก เด็ก คนในวัยทำงาน (วัยกลางคน) และช่วงสุดท้ายของชีวิตต่อจากวัยกลางคน จึงเป็นผู้สูงอายุ 

ผู้สูงอายุ อาจแบ่งเป็นกลุ่มอายุย่อยได้อีก เช่น ผู้สูงอายุวัยต้น คือ ผู้มีอายุ 60-69 ปี  ผู้สูงอายุวัยกลาง คือ ผู้มีอายุ 70-79 ปี ผู้สูงอายุวัยปลาย คือ ผู้มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ศตวรรษิกชน (centenarian) คือ ผู้มีอายุ 100 ปีขึ้นไป

เราใช้คำว่า ผู้สูงอายุ เพื่อให้มีความหมายเป็นกลางๆ  และเพื่อหลีกเลี่ยงคำที่มีนัยยะสื่อไปทางการมีวยาคติ (ageism) เช่น ผู้เฒ่า คนแก่ คนชรา

อัตราผู้สูงอายุหรืออัตราส่วนร้อยของประชากรสูงอายุต่อประชากรทั้งหมด ใช้เป็นตัวชี้วัดระดับการสูงวัยของประชากร เช่น ในปี 2566 ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด จึงอาจเรียกได้ว่า เป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 08/03/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015